Pool Knowledge

Pool Knowledge > ประเภทของสระว่ายน้ำ




ประเภทของสระว่ายน้ำ มี 2 ประเภท คือ

1. Over Flow คือ การนำน้ำในสระไปบำบัดฆ่าเชื้อโรค โดยให้น้ำล้นออกมาขอบสระแล้วผ่านรางรอบ ๆ ของขอบสระไปรวมที่ Surge Tank แล้วใช้ปั๊มน้ำดูดเข้าผ่านเครื่องกรอง (Filter) กลับสู่สระอีกครั้ง

  ข้อดี

ข้อเสีย
  - ทำให้ดูแผ่นน้ำตึงขอบสระสวย ซึ่งนิยมใช้ในประเทศไทย

- ทำให้เกิดการหมักหมมของเศษสิ่งสกปรกบริเวณรางน้ำของขอบสระ ซึ่งมักจะใช้ Granate Grill   ปิดเอาไว้ หรือใช้กรวดเป็นตัวปิดความสกปรก เมื่อคุ้ยกรวดออกจะเห็นเหมือนท่อระบายน้ำ
- ต้องมี Surge Tank เป็นการเพิ่มความยุ่งยากในการก่อสร้าง


2. Skimmer คือ การนำน้ำในสระไปบำบัด โดยผ่านช่องของ Skimmer Box เข้าปั๊มน้ำและ Filter โดยตรงและส่งกลับมายัง
สระว่ายน้ำอีกครั้ง

  ข้อดี


ข้อเสีย
  - ทำให้น้ำไหลผ่านระบบด้วยระยะทางสั้นกว่า เพราะไม่ต้องผ่าน Surge Tank ทำให้ใช้น้ำปริมาตร
  ที่น้อยกว่าระบบน้ำล้น
- ไม่เกิดการหมักหมมระหว่างทางเดินของน้ำ

- ระดับน้ำจะต่ำกว่าขอบสระว่ายน้ำประมาณ 4 -10 ซม. จะไม่ดูแผ่นน้ำตึงปิดขอบสระ
  เหมือนระบบน้ำล้น การไหลกลับของน้ำสู่สระว่ายน้ำทั้ง 2 แบบ อาจะเป็น Floor Return
  หรือ Wall Return ก็ได้ หรือบางครั้งก็ทำเป็นน้ำตก หรือ Water Blade หรือเป็นรูปปั้น
  พ่นน้ำลงสระ ขึ้นอยู่กับการ Design



อุปกรณ์ของสระว่ายน้ำ (Swimming Pool Equipment)

 
อุปกรณ์สระว่ายน้ำขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่าย ถ้าเราจ่ายค่าระบบถูก
จะทำให้การดูแลยุ่งยากเสียดูแลรักษาสูง ถ้าเราจ่ายงานระบบสูง
การดูแลรักษาก็จะง่ายและถูก เช่น ระบบพื้นฐานของสระว่ายน้ำ
มีอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. ปั๊ม (Pump) เพื่อดูดน้ำจากสระ เพื่อนำมาเข้าเครื่องกรอง (Filter Tank) ซึ่งมีหลายราคา
2. เครื่องกรอง (Filter) มีหน้าที่กรองสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง จากน้ำในสระ มีหลายชนิด เช่น

-



-


-
  Cartgridege Filter (เครื่องกรองกระดาษ) จะมีลักษณะเป็นถุงกระดาษ ผ้าหรือโพลีเอสเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้กับ
บ่อสปา หรือสระน้ำเล็กๆ การทำความสะอาดจะต้องถอดล้างเป็นประจำ ถ้าเครื่องกรองมีลักษณะเป็นผ้าจะต้องใช้ผงกรองเคลือบแผ่นผ้าในการทำความสะอาดหรือ Back Wash ทุกครั้ง


Sand Filter (เครื่องกรองทราย) ซึ่งจะมี Option พิเศษ เช่น High-Rate หรือมี Multi Port Value เพื่อความสะดวกในการล้างและทำความสะอาดเครื่องกรองเอง

Diatomaceous Earth Filter เป็นเครื่องกรองที่ใช้ผงกรองที่ทำจากฟอสซิล ซึ่งนำมาบดให้ละเอียด ทำให้มี
การกรองที่ละเอียดดี แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้เนื่องจากหายากและค่อนข้างยุ่งยากในการดูแลรักษา

3. นอกจากนั้นจะเป็นระบบการบำบัดฆ่าเชื้อโรคในน้ำ จะมีราคาแตกต่างกันไปตามความสะดวก ตั้งแต่ระบบฆ่าเชื้อโรค
ด้วยคลอรีน ซึ่งต้องวัดค่า PH ด้วยเครื่องวัดค่าเทียบสีและต้องทำทุกวัน แล้วปรับค่า PH ด้วยการใส่กรดและด่าง ด้วยการ
เทลงในน้ำเอง แล้ววัดค่าดูอีกครั้ง ผลสุดท้ายจะเกิดความเบื่อ และต้องจ้างผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษา ซึ่งจะต้อง
เสียค่าใช้จ่ายต่อเดือนค่อนข้างสูง


ต่อมามีการพัฒนาด้วยการจ่ายคลอรีนด้วยปั๊มอัตโนมัติ โดยมี Censor Head เป็นตัววัดและสั่งจ่ายคลอรีนอย่างแม่นยำกว่า
และต่อมาได้มีการพัฒนาด้วยการปรับค่า PH ด้วย Censor Head แล้วสั่งปั๊มทำงานอัตโนมัติสั่งจ่ายปรับค่า PH


การทำความสะอาดพื้นสระว่ายน้ำก็ใช้ระบบ Vacuum เหมือนเครื่องดูดฝุ่นทั่วไป หรือใช้ Robot ทำงานเอง หรือใช้ Floor Self
หรือใช้ Floor Self Cleaning ในการทำความสะอาดพื้นสระ




ระบบฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ (Pool Water Hygiene)

ระบบบำบัดน้ำในสระว่ายน้ำที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ ประกอบด้วย 3 ระบบ คือ

1.ระบบน้ำเกลือ (Salt Water) เป็นระบบที่ดีที่สุด โดยการใช้น้ำเกลือธรรมชาติ (NaCI = Sodium Chloride) มาผ่าน
ขบวนการ Electrolytic Process ของเครื่อง Salt Chlorinator มาทำการฆ่าเชื้อโรคในน้ำโดยเกิด Sodium Hypochlorite
และ Sodium Chloride (NaCl) ซึ่งเป็นเกลือธรรมชาติดั้งเดิม และน้ำเกลือเมื่อใช้ฆ่าเชื้อโรคแล้วจะไม่สูญหายไปไหน จะเติม
ก็ต่อเมื่อมีการทำ Back Wash คือ ล้างเครื่องกรอง หรือฝนตกจนน้ำล้นออกจากสระว่ายน้ำ ดังนั้นการเติมเกลือจะเติมประมาณ
ปีละ 2-3 ครั้ง และน้ำเกลือจะมีความเข้มข้นเพียง 0.3% เท่านั้นเอง (ประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำตาคนเรา)


ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีประชากรที่มีสระว่ายน้ำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้นำด้านอุปกรณ์ Swimming Pool
จำนวน 90% ใช้ระบบน้ำเกลือ และ 10% เป็นสระว่ายน้ำรุ่นเก่าใช้ระบบคลอรีน ซึ่งรอการเปลี่ยนเข้าสู่ระบบน้ำเกลือ


ระบบน้ำเกลือ นับเป็นระบบที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยังเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังได้ดีอีกด้วย (Mild Salt Water Has
Therapeutic Benefits) แต่อย่างไรก็แล้วแต่ระบบเกลือก็ยังต้องดูแลค่า PH ความเป็นกรดและความเป็นด่างของน้ำในสระ
ซึ่งจะมีความเป็นด่างเพิ่มขึ้นเท่านั้น จะไม่มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น จากผลของการใช้น้ำเกลือผ่าน Electrolytic Process


  2NaCl + H2O > NaOCl + NaCl+H2+H2O  
  (ตัวฆ่าเชื้อโรค) (เกลือธรรมชาติ)  

2. ระบบคลอรีน เป็นตัวฆ่าเชื้อโรคในน้ำ โดยอาจนำคลอรีนมาฆ่าเชื้อในรูปของ ของเหลว (Liquid Chlorine) หรือเป็นเม็ด
(Tabletes) หรืออัดมาเป็นก้อน หรือเป็นผง (Powder) แล้วแต่บริษัทจะผลิตขึ้นมาโดยใส่ลงในสระว่ายน้ำ ด้วยการโรยผง
คลอรีน เป็นผงคลอรีนเหลวเทลงในสระ หรือเป็นก้อนคลอรีนใส่ใน Skimmer เพื่อให้ค่อย ๆ ละลายในสระว่ายน้ำ ตัวคลอรีน
จะเปลี่ยนเป็นตัวฆ่าเชื้อโรค โดยจะทำงานหรือฆ่าเชื้อโรคได้ก็ต่อเมื่อน้ำในสระมีค่า PH อยู่ระหว่าง 7.2-7.8

ซึ่งถ้าหากน้ำ ในสระมีค่าความเป็นด่าง ก็ต้องเติมกรดลงไป แล้วแต่บริษัทจะใส่กรดอะไร ค่าความเป็นด่างจะเพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อ
ขี้เหงื่อ และขี้ไคลของผู้ที่ลงไปเล่นในสระว่ายน้ำ (Bather) ดังนั้นก่อนลงสระว่ายน้ำ จึงต้องอาบน้ำล้างตัวก่อนลงสระ หรืออาจ
จะเกิดเศษใบไม้ใบหญ้า หรือฝุ่นละออง ที่ลงไปในสระว่ายน้ำ แต่ถ้าน้ำในสระมีค่า PH ต่ำลง คือมีความเป็นกรดสูงขึ้น ก็ต้อง
เติมสารที่เป็นด่างเพื่อปรับค่า PH อาจเป็น Buffer หรือ Soda ash ก็ได้


ดังนั้นจึงต้องมีการวัดค่า PH ของน้ำในสระทุก ๆ วัน แต่ปัจจุบันนี้มีเครื่องวัดค่า PH ที่ทำงานโดยอัตโนมัติสามารถปั๊มกรด
หรือปั๊มด่างลงไปในสระว่ายน้ำ เพื่อปรับค่า PH มิฉะนั้นไม่ว่าจะใส่คลอรีนมากขนาดไหน คลอรีนก็จะไม่ทำงาน มีแต่จะเหม็น
กลิ่นคลอรีนเพิ่มขึ้น


ข้อควรระวัง คลอรีนเป็นสารที่อันตรายต่อร่างกายที่ต้องระวังในการดูแล เพราะเป็นสารเคมี ซึ่งอาจจะทำอันตรายต่อร่างกาย
และผิวหนังได้ เมื่อได้กลิ่นจะรู้สึกแสบจมูก ถ้าเข้าตาต้องรีบล้างออกหรือพบแพทย์ แต่ถ้าว่ายน้ำนาน ๆ จะทำให้เส้นผม
แห้งกรอบและผิวแห้งกร้านได้ คลอรีนต้องเติมทุกวัน เพราะคลอรีนจะใช้ในการย่อยเศษผงใบไม้หรือขี้ไคลสิ่งสกปรกจาก
ร่างกาย และจะถูกทำลายโดยรังสี UV (Ultra Violet) ในแสงแดด และความร้อน ดังนั้นจึงนิยมใส่คลอรีนตอนกลางคืน
หลังจากไม่มีคนเล่นน้ำแล้ว เพื่อป้องกันการสิ้นเปลืองของคลอรีน


3. ระบบ Ozone Treatment โดยการผลิตก๊าซโอโซน (Ozone Gas) จากเครื่องอัดอากาศ (O2) ในอากาศให้กลาย
เป็นก๊าซโอโซน และสัมผัส (Contact) กับน้ำโดยตรง เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งเป็นตัวฆ่าเชื้อโรคที่มีศักยภาพสูงมาก
ใช้ในการดูแลน้ำของระบบ Spa หรือสระว่ายน้ำ โอโซนจะไม่มีสารตกค้าง แต่เมื่อน้ำผ่านโอโซนถูกฆ่าเชื้อโรคเรียบร้อยแล้ว
น้ำที่สะอาดจะลงสู่สระว่ายน้ำ และในขณะที่น้ำอยู่ในสระประมาณ 3-6 ชั่วโมงนั้น ไม่มีอะไรไปฆ่าเชื้อโรค จนกว่าน้ำกลับมา
ผ่านโอโซนอีกครั้ง

ดังนั้น เมื่อมีคนนำเชื้อโรคลงในสระว่ายน้ำ ไม่ว่าเชื้อโรคอะไรเชื้อนั้นจะอยู่ในสระปนกับน้ำ ทำให้เกิดโรคติดต่อแก่ผู้เล่นน้ำ
ในสระเดียวกันได้ ซึ่งเชื้อโรคนั้นจะต้องผ่านเครื่องฉีดโอโซนอีกครั้ง เชื้อโรคจึงจะถูกทำลาย ซึ่งบางประเทศจึงมีกฎหมาย
สำหรับสระว่ายน้ำสาธารณะ (Public Swimming Pool) ห้ามใช้ระบบโอโซนอย่างเดียว ต้องใช้ควบคู่กับระบบอื่น (เช่น
ใช้คลอรีนหรือน้ำเกลือ) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ







 
   
Home   |   About Us   |   Services   |    Product   |   Reference   |    Contact Us
 
Copyright 2011 PoolandFresh. All Rights Reserverd.  
Tel : 02-952-2533-4 Fax : 02-952-4150 E-mail : info@poolandfresh.com, poolandfresh@gmail.com